ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: รากฟันเทียม vs รักษารากฟัน ต่างกันอย่างไร ?  (อ่าน 89 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 431
    • ดูรายละเอียด
การทำ “รากฟันเทียม” กับ การ “รักษารากฟัน” ด้วยชื่อที่คล้ายกันอาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสน แล้วเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การรักษาทั้งสองอย่างนี้มีเทคนิค วิธีการ และความจำเป็นที่ต่างกันไป ในบทความนี้เราจะมาสรุปให้ฟังว่า รากฟันเทียม กับ การรักษารากฟัน คืออะไร และแตกต่างกันยังไงบ้าง

รากฟันเทียม คืออะไร ?

รากฟันเทียม คือ วัสดุทำจากไทเทเนียมที่มีรูปร่างคล้ายกับรากฟันจริงของเรา ซึ่งจะถูกฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อใช้รองรับการทำฟันเทียมแบบติดแน่น การทำรากฟันเทียมถือเป็นการทดแทนฟันที่ดีที่สุด ในกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันธรรมชาติไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น การถอนฟัน โรคเหงือก หรืออุบัติเหตุ โดยไทเทเนียมที่ใช้ทำรากฟันเทียมนั้นเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ส่วนครอบฟันหรือตัวฟันเทียมก็จะถูกออกแบบให้มีรูปร่างและสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด หลังรักษาคนไข้จึงสามารถใช้งานฟันได้ตามปกติ แถมฟันที่ใส่ทดแทนยังมีความแข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนานด้วย


รากฟันเทียม มีกี่แบบ

การทำรากฟันเทียมสามารถเป็นได้หลักๆ เป็น 3 แบบ ได้แก่


1. การฝังรากเทียมทั่วไป (Conventional implant)

เป็นการทำรากฟันเทียมตามปกติ โดยเมื่อคนไข้ถอนฟันออกไปแล้ว จะรอระยะหนึ่งเพื่อให้กระดูกที่ถอนฟันออกไปหายสมบูรณ์ จากนั้นจึงผ่าตัดเล็กเพื่อฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร แล้วรอประมาณ 3-4 เดือน ให้รากเทียมกับกระดูกยึดติดกันเต็มที่ จึงตามด้วยการทำครอบฟันยึดติดกับรากเทียมอีกทีหนึ่ง ซึ่งใช้เวลารักษารวมแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน การฝังรากเทียมแบบนี้มีข้อจำกัดในการรักษาค่อนข้างน้อย ยกเว้นในคนไข้บางรายที่มีปริมาณกระดูกน้อยมาก ก็อาจจำเป็นต้องปลูกกระดูกก่อนทำการรักษา


2. การฝังรากเทียมทันทีหลังการถอนฟันธรรมชาติออก (Immediate implant)

เป็นการฝังรากฟันเทียมเข้าไปทันทีหลังถอนฟันธรรมชาติออกไป ซึ่งมีข้อดีคือช่วยลดการละลายของกระดูกฟัน ลดขั้นตอนและระยะเวลา และลดโอกาสเกิดเหงือกร่นได้ แต่ข้อจำกัดคือคนไข้จะต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอในการใส่รากเทียม และไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันในตำแหน่งที่จะถอน โดยตำแหน่งฟันที่เหมาะสมกับการรักษาวิธีนี้ ได้แก่ ฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย


3. การฝังรากเทียมต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ (Immediate loaded implant)

เป็นการฝังรากฟันเทียมร่วมกับการทำครอบฟัน (แบบชั่วคราวหรือถาวร) ต่อเนื่องกันทันทีโดยไม่ต้องรอ ข้อดีคือประหยัดเวลากว่าการฝังรากฟันเทียมทั่วไป แถมยังดูสวยงามเพราะคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก และทำได้ในบางเคสเท่านั้น


การดูแลรักษารากฟันเทียม

ขั้นตอนการดูแลฟันที่ใส่รากฟันเทียมนั้นเหมือนกันกับการดูแลฟันธรรมชาติ ซึ่งก็ได้แก่การแปรงฟันให้สะอาด ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน และตรวจสุขภาพช่องปากปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยให้รากฟันเทียมและครอบฟันมีอายุการใช้งานยาวนาน แม้รากฟันเทียมจะไม่เกิดการผุ แต่หากเราดูแลไม่ดีก็อาจเกิดโรคเหงือกอักเสบตามมาได้เช่นกัน


การรักษารากฟัน คืออะไร ?

การรักษารากฟัน คือการรักษาการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันหรือคลองรากฟัน ซึ่งเป็นส่วนเนื้อเยื่อเล็กๆ ที่อยู่ใจกลางฟัน ขั้นตอนคร่าวๆ ของการรักษารากฟัน เริ่มจากการทำความสะอาดโพรงฟันโดยเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก แล้วทำส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อ จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและซ่อมแซมตัวฟันให้กลับมาแข็งแรงสวยงามตามปกติ ซึ่งข้อดีของการรักษารากฟันคือเราสามารถรักษาฟันซี่ที่ผุเอาไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องถอนออก


สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน มีอะไรบ้าง

เหตุผลหลักๆ ที่ต้องรักษารากฟัน คือการที่ฟันผุมากหรือผุลึกลงไปถึงโพรงประสาทฟัน จนทำให้มีอาการปวดฟันรุนแรงและกลายเป็นอุปสรรคในการเคี้ยวอาหาร ซึ่งสาเหตุก็มักมาจากการปล่อยให้ฟันผุเป็นเวลานานแล้วไม่ได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยลักษณะฟันที่เข้าข่ายจำเป็นต้องรักษารากฟัน ได้แก่

    ฟันที่ผุลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน
    ฟันที่แตก หัก เสียหาย และทะลุถึงโพรงฟัน
    ฟันที่ร้าวจากพฤติกรรมที่รบกวนโพรงฟัน เช่น การนอนกัดฟัน การเคี้ยวอาหารรุนแรง การกัดเค้นฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแทรกเข้าไปในโพรงประสาทฟันได้
    มีปัญหาโรคเหงือก หรือฟันตาย
    กรณีเฉพาะอื่นๆ เช่น มีการแก้ไขแนวฟันร่วมกับการทำครอบฟัน


หากไม่ยอมรักษารากฟัน จะเกิดอะไรขึ้น

ฟันที่ผุหรือเสียหายลึกจนถึงโพรงประสาทแล้วไม่ได้รับการรักษารากฟัน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังมักมีปัญหากลิ่นปากตามมาด้วย นอกจากนี้ การอักเสบติดเชื้อในคลองรากฟันที่ไม่ได้รับการรักษา ก็อาจลุกลามไปยังฟันซี่อื่นๆ ทำให้เกิดฟันผุหลายซี่ หรือถึงขั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่น จนทำให้เกิดโรคตาอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก


การดูแลฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน

ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันมาแล้ว ควรดูแลให้เหมือนกับฟันปกติ คือแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ รวมถึงไปพบทันตแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจติดตามการรักษาทุกๆ 6 เดือน นอกจากนี้ ยังควรระวังไม่กัดหรือเคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป เพราะฟันที่รักษารากฟันมาอาจเปราะหรือแตกง่าย


รากฟันเทียมแตกต่างกับการรักษารากฟัน อย่างไร ?

โดยสรุปแล้ว ความแตกต่างของการรักษาทั้งสองวิธี คือ รากฟันเทียม เป็นการทดแทนฟันที่สูญเสียไปโดยการฝังวัสดุไทเทียมเข้าไปแทนรากฟัน แล้วจึงทำครอบฟันทับ เพื่อให้ได้ฟันใหม่ที่คล้ายกับฟันเดิม ส่วนรักษารากฟัน เป็นการรักษาฟันธรรมชาติที่มีอยู่เดิม แต่ผุลึกจนถึงโพรงประสาท โดยการทำความสะอาดคลองรากฟันและอุดซ่อมแซมให้กลับมาเป็นปกติ

คุณสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษารากฟันได้จากบทความเรื่อง รักษารากฟัน "ดี" อย่างไร ? บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักการรักษารากฟันให้มากขึ้น รวมถึงข้อดีของการรักษารากฟันที่ต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร และถ้าคุณอยากรู้เรื่องรากฟันเทียม สามารถอ่านบทความเรื่อง รากฟันเทียม คืออะไร


ใส่รากฟันเทียมและรักษารากฟัน ต้องทำกับทันตแพทย์เฉพาะทางหรือเปล่า ?

ถ้าคุณมีความสนใจที่จะรักษาทันตกรรม ทั้งการใส่รากฟันเทียมและการรักษารากฟัน เป็นการรักษาที่ละเอียดซับซ้อน จึงต้องให้ทันตแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญเป็นคนทำการรักษา ซึ่ง Thonglor Dental Hospital (TDH) เป็นคลินิกทันตกรรมที่รวมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมฌแฉาพะทางที่ให้บริการรักษาทันตกรรมทุกด้าน รวมไปถึงการใส่รากฟันเทียมและการรักษารากฟันอย่างปลอดภัย



จัดฟันบางนา: รากฟันเทียม vs รักษารากฟัน ต่างกันอย่างไร ? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/