ผู้เขียน หัวข้อ: สอนสร้างบ้าน: “งานก่อสร้าง” คืออะไร? แต่ละประเภทเป็นอย่างไรบ้าง?  (อ่าน 72 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 277
    • ดูรายละเอียด
หลาย ๆ คน ต้องรู้จักกับ งานก่อสร้าง กันดีอยู่แล้ว เป็นงานที่จัดประกอบ ก่อตั้งโครงสร้างพื้นฐานจนก่อขึ้นมาเป็นตัวอาคาร บ้านเรือน และระบบสาธารณูปโภคจะพาไรู้จักกับ ประเภทงานก่อสร้าง งานก่อสร้าง คืออะไร มีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน

การก่อสร้าง (Construction) คือ งานที่ทำให้เกิดการประกอบ ติดตั้งให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบก่อสร้างต่าง ๆ เป็นงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย งานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก เป็นต้น และช่างที่ปฏิบัติงาน จะเรียกตามประเภทของงาน เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างทาสี เป็นต้น หรือเรียกโดยรวม คือ ช่างก่อสร้าง ส่วนผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้าง เรียกว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน นั่นเอง


ประเภทของงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง?

เมื่อพูดถึงงานก่อสร้างก็จะมีหลากหลายรูปแบบมากมาย แบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. งานก่อสร้างถนนและระบบสาธารณูปโภคด้านขนส่ง

    งานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมแรง ถนนลาดยางมะตอย
    งานก่อสร้างระบบทางด่วน ด่านเก็บเงิน
    งานก่อสร้างทางรถไฟ รางรถไฟ
    งานก่อสร้างสนามบิน รันเวย์ ขึ้น-ลง
    งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ท่าเรือขนส่งสินค้า


2. งานก่อสร้างอาคาร

    งานก่อสร้างบ้านพักอาศัย บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม
    งานก่อสร้างบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ เช่น แฟลต หรือคอนโด
    งานก่อสร้างโรงเรียน โรงอาหาร โรงยิม
    งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
    งานก่อสร้างทางด้านอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โรงเก็บของต่าง ๆ
    งานก่อสร้างอาคารทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ เมรุเผาศพ ศาลเจ้า เป็นต้น
    งานก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอสมุด อาคารที่พักผู้โดยสาร สนามกีฬา เป็นต้น


3. งานระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ

    งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า
    งานก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปา
    งานก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย
    งานก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะ และระบบกำจัดขยะแบบอื่น ๆ
    งานก่อสร้าง ท่อส่งน้ำ ท่องส่งแก๊ส ท่อส่งน้ำมัน


4. งานก่อสร้างระบบชลประทาน

    งานก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ
    งานก่อสร้างคลองชลประทาน
    งานก่อสร้างอาคารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชลประทาน


ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง คืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งทำงานประสานกัน คือ เจ้าของ ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยที่แต่ละกลุ่มมีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้

1. เจ้าของ

เป็นผู้ที่ทำให้เกิดงานหรือโครงการขึ้น เป็นผู้ที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้าง หน้าที่หลักสรุปได้ ดังต่อไปนี้

    รับผิดชอบในการระบุรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ให้แก่โครงการ เช่น ความต้องการในการใช้อาคาร ปริมาณน้ำมันดิบต่อวันที่จะต้องกลั่น ปริมาตรก๊าซที่จะต้องส่งตามท่อในหนึ่งชั่วโมง ปริมาณเหล็กเส้นที่จะต้องผลิตต่อวัน
    กำหนดว่าจะเกี่ยวข้องกับโครงการในระดับใด เช่น กระบวนการตรวจทาน (Review Process) รายละเอียดของรายงานที่ต้องการ (Required reports) งานที่จะต้องอนุมัติ (Levels of Approval)
    รับผิดชอบในการกำหนดต้นทุนโดยรวม การจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กำหนดเวลาของงานหลัก (Major Milestones) และวันสิ้นสุดโครงการ


2. ผู้ออกแบบ

ประกอบด้วย สถาปนิก และวิศวกรด้านต่าง ๆ เป็นผู้ที่แปลความต้องการของเจ้าของให้อยู่ในรูปของแบบรูป และรายการข้อกำหนด เพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง สามารถทำการก่อสร้างได้ตามที่เจ้าของต้องการ โดยมีหน้าที่ ดังนี้

    รับผิดชอบในการคำนวณออกแบบทางเลือกต่าง ๆ เช่น จัดทำแบบรูป และรายการข้อกำหนดตามความต้องการของเจ้าของการออกแบบต้องทำตามบทบัญญัติ ข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการออกแบบต้องมีกำหนดเวลาที่สอดคล้องกับกำหนดเวลาหลักของเจ้าของ และกำหนดเวลาในการก่อสร้างของผู้รับเหมา
    ตรวจงาน ก่อสร้างเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
    ตรวจแบบรายละเอียดก่อสร้าง (Shop drawing)
    ประมาณราคาค่าก่อสร้างคร่าว ๆ ให้แก่ทางเจ้าของงาน เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
    ให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง
    กลั่นกรองการขออนุมัติใช้วัสดุจากผู้รับเหมา

    การออกแบบ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพ และราคาค่าก่อสร้างอย่างมาก ดังนั้น ผู้ออกแบบต้องทำงานประสานกับฝ่ายเจ้าของงานอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถออกแบบให้ตรงกับความต้องการของทางเจ้าของงานให้มากที่สุด


3. ผู้รับเหมาก่อสร้าง

มีหน้าที่ทำงานให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา ประกอบไปด้วย แบบรูป รายการข้อกำหนด ขอบเขตงาน และเงื่อนไขสัญญาอื่น ๆ  ขั้นตอนก่อสร้างเป็นขั้นตอนที่สำคัญค่อนข้างมากเพราะมีผลต่อ งบประมาณ ระยะเวลาก่อสร้าง  ที่อาจจะบานปลายได้  อีกทั้งการใช้งานโครงการและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามีผลอย่างมากจากคุณภาพของงานที่ทำในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะต้องประมาณราคาโครงการให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด จัดทำกำหนดเวลาทำงานให้เป็นไปได้ จัดระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสำหรับควบคุมต้นทุน กำหนดเวลา และคุณภาพงาน

วัสดุและอุปกรณ์จำเป็นในงานก่อสร้าง

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

    วัสดุพื้นฐาน คือ วัสดุที่เป็นฐานในการผลิตวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น  เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ กรวด หิน ทราย ซีเมนต์ พลาสติก กระจก เป็นต้น
    วัสดุผลิตภัณฑ์ คือ วัสดุที่ผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีตสำเร็จรูป อิฐ เหล็กรูปพรรณ เหล็กเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กอัดแรง ไม้แปรรูป ชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ชิ้นส่วนสำเร็จรูปหลังคา ผนังภายในอาคาร วงกบประตู หน้าต่าง วัสดุงานตกแต่งพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคาต่าง ๆ เป็นต้น

เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สามารถแบ่งได้ ดังนี้

    งานดิน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ (Tractors) รถตัก (Loader), รถขุดแบบตักหน้า (Power Shovel), ปั้นจั่นแบบขุดลาก (Drag line), ปั้นจั่นขุดแบบกาบหอย (Clamp Shell), รถขุด (Backhoe), รถบรรทุก (Truck) รถเกลี่ยดิน (Grader) เป็นต้น
    งานขนส่งในงานก่อสร้าง เช่น รถเข็น, รถขน-เทวัสดุ, รถยก, รถบรรทุก, รอก, สายพานลำเลียง, ปั้นจั่น เป็นต้น
    งานคอนกรีต เช่น โรงผสมคอนกรีต โม่ผสมคอนกรีต รถคอนกรีตผสมเสร็จ รถขนเทวัสดุ สายพานลำเรียง ถังหิ้วคอนกรีต ถังพักคอนกรีต รางเทคอนกรีต เครื่องสูบคอนกรีต เครื่องสั่นคอนกรีต เครื่องยิงคอนกรีต แบบเลื่อน แบบไต่ เป็นต้น
    งานไม้ เช่น เลื่อย สิ่ว สะหว่านเจาะรู เครื่องไสไม้ เป็นต้น
    งานโลหะ เช่น เลื่อย สว่าน เครื่องเชื่อม เป็นต้น


ข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

เรื่องความปลอดภัยของงานก่อสร้าง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ทั้งบุคคลภายใน และบุคคลภายนอก

    บุคคลภายใน คือ ทีมผู้รับเหมา อย่างวิศวกรของโครงการ คนงานก่อสร้าง และทีมงานส่วนอื่น ๆ ที่ทำงานในไซต์ก่อสร้าง
    บุคลลภายนอก คือ บุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อสร้าง หรืองานก่อสร้างแต่อาศัยอยู่ใกล้เคียงบริเวณโครงการก่อสร้าง หรือเป็นบุคคลที่เดินทางผ่านโครงการก่อสร้างนั่นเอง


ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล

    ควรมีการสวมหมวกนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในไซต์ก่อสร้าง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของ หรือวัสดุที่อาจตกหล่นลงมาได้
    ควรแต่งตัวให้มิดชิด สวมชุดที่ปกป้องร่างกาย กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ไม่ควรใส่รองเท้าแตะในงานก่อสร้าง เพราะอาจเกิดการเหยียบเศษวัสดุก่อสร้างจนบาดเจ็บได้
    ควรสังเกตว่ามีป้ายเตือนบริเวณต่าง ๆ หรือไม่ เพราะบางโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มาก และแรงงานเยอะ จึงมีการแบ่งสัดส่วนการทำงาน ทำให้แรงงานทุกคนอาจไม่รู้ถึงขั้นตอนการทำงานในส่วนอื่น อาจเกิดอุบัติเหตุได้
    เมื่อมีการใช้เครื่องมือเสร็จแล้ว ควรมีการเก็บให้เป็นที่ เครื่องมือหลาย ๆ อย่างเป็นเครื่องมีที่มีความคม ควรจะเก็บในพื้นที่ที่ปลอดภัย หรือกล่องอุปกรณ์ก่อน พอถึงเวลาใช้งานค่อยนำออกมาใช้
    บริษัทรับเหมาก่อสร้างควรมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในกระบวนการต่าง ๆ และตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันตนเองและเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้บริษัทควรออกกฎเป็นข้อบังคับให้ชัดเจน และควรมีบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนด้วย จะเป็นอีกตัวช่วยเรื่องความปลอดภัยต่อบุคคลภายในงานก่อสร้างได้


ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้าง

-    ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง ไว้ตามจุดต่าง ๆ และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เผื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีหน่วยงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือกรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
-    ทำรั้วกั้นบริเวณที่ก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณ
-    ควรแบ่งสัดส่วนของสถานที่ก่อสร้างให้ชัดเจน แบ่งบริเวณพักอาศัย แบ่งบริเวณที่ใช้ขนส่งวัสดุก่อสร้าง แบ่งบริเวณสำหรับเก็บวัสดุอุปกรณ์
-    ส่วนไหนของอาคารที่กำลังก่อสร้างมีช่องเปิด ควรมีแผงกั้นกันตก เพื่อความปลอดภัย
-    รอบอาคารควรมีแผ่นกั้น เพื่อกันวัสดุตกลงมา
-    บริเวณไหนของไซต์งานก่อสร้างที่มีความเสี่ยง ก็ควรทำสัญลักษณ์แจ้งให้คนอื่นรับรู้ด้วย เช่น บริเวณนี้รับน้ำหนักได้ไม่เกินกี่คน หรือบริเวณนี้ห้ามผ่าน เป็นต้น เพราะบางโครงการขนาดใหญ่มาก แรงงานเยอะ ไม่ได้รู้รายละเอียดขั้นตอนการทำงานในส่วนอื่น
-    ไซต์งานก่อสร้างต้องให้ความสำคัญ เรื่องแสงสว่างในการทำงาน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ กรณีมองไม่เห็นจุดบอด หรือส่วนที่กำลังก่อสร้าง
-    มีการกำหนดเวลา เข้า-ออก แต่ละส่วนของไซต์อย่างชัดเจน




สอนสร้างบ้าน: “งานก่อสร้าง” คืออะไร? แต่ละประเภทเป็นอย่างไรบ้าง? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://realestatebb.com/