ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: วัดระดับเสียงใช่ว่าใครก็วัดได้ 6 ปัจจัยทำลายที่ทำให้การวัดไม่ได้ผล  (อ่าน 40 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 278
    • ดูรายละเอียด
การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยตรง เพื่อเข้าไปทำการวัดระดับเสียงและแก้ไขปัญหาหรือควบคุมเสียงดังรบกวนภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่างๆ นั้น โดยมากไม่ได้รับความนิยม เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องที่มีต้นทุนค่าใช้จ่าย หรือบางรายอาจมองว่าสามารถจัดการเองได้ แต่ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วนั้น ปฏิบัติการในเรื่องการควบคุมเสียง จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทาง เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่างานด้านการควบคุมเสียงนี้นั้นมีความยากเพียงใด วันนี้เราจะไปพบกับ 6 ปัจจัยที่ทำให้การวัดระดับเสียงอาจผิดเพี้ยน จนทำให้การแก้ไขปัญหาเสียงของเรานั้น ไร้ประสิทธิภาพ

 
1. อุณหภูมิ

น่าจะมีหลายคนไม่ทราบแน่ๆ ว่า อุณหภูมินั้นมีผลต่อการวัดระดับเสียงด้วย โดยเครื่องวัดเสียงมาตรฐานนั้น ส่วนใหญ่จะได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับอุณหภูมิห้องที่อยู่ในช่วง -7 ถึง 66 องศาเซลเซียส ซึ่งการตรวจวัดเสียงนั้นเราจะทำกันที่อุณหภูมิห้องเป็นสำคัญ ดังนั้น ในการนำเครื่องวัดเสียงไปใช้เราก็จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิห้องด้วยว่าว่าเหมาะสมกับเครื่องหรือไม่ ไม่อย่างนั้นแล้วการวัดเสียงในครั้งนั้นๆ ก็จะไม่ค่าที่ไม่มีประสิทธิภาพ


2. ความชื้น

ความชื้นที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ ซึ่งเมื่อหยดน้ำจากความชื้นไปเกาะกับไมโครโฟนที่ใช้ทำการวัดระดับเสียงแล้วล่ะก็ จะส่งผลให้การวัดได้ค่าเสียงที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม หรือทำให้เกิดเสียงแทรกได้ ดังนั้น นอกจากจะต้องทำการดูเรื่องความชื้นให้เหมาะสมแล้ว เครื่องวัดระดับเสียงก็จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน สามารถทำงานภายใต้สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงได้ดีด้วย


3. ความดันอากาศ

จะส่งผลกระทบต่อเสียงจากเครื่องปรับความถูกต้อง จึงทำให้ในการวัดระดับเสียงทุกครั้ง จำเป็นต้องปรับค่าความดันอากาศตามที่เหมาะสมกับเครื่องเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปถ้าระดับของพื้นที่ ที่จะทำการวัดระดับเสียงนั้น อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 10,000 ฟุต ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากความดันอากาศ


4. กระแสลม

อุปกรณ์สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการวัดระดับเสียงนั้นก็คือ ไมโครโฟน ซึ่งแน่นอนว่าเสียงทุกเสียงโดยรอบจะส่งผลต่อไมโครโฟนทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งเสียงลม ที่จะทำให้การอ่านค่าสูงกว่าในความเป็นจริง ดังนั้นในกระบวนการวัดระดับเสียงจึงจำเป็นต้องใช้ไมโครโฟนที่ดีมีคุณภาพ และสวมเครื่องป้องกันลมให้กับไมโครโฟนด้วย เพื่อให้ค่าที่ออกมาเป็นค่าเสียงที่ถูกต้องจริงๆ


5. ความสั่นสะเทือน

ในพื้นที่ที่มีระดับเสียงดังมากๆ คลื่นเสียงนั้นมีพลังมากพอจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นนั้นก็จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ในการวัดระดับเสียง เกิดการสั่นสะเทือนจนเกิดเสียงแทรกได้เช่นกัน นั่นเองจึงทำให้ในการวางตำแหน่งของไมโครโฟนและอุปกรณ์วัดระดับเสียงต่างๆ ต้องมีการวางเพื่อป้องกันการถูกแรงสั่นสะเทือนด้วย เพื่อให้สามารถวัดค่าเสียงจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


6. เสียงจากแหล่งอื่นๆ

เราต้องการวัดเสียงจากแหล่งกำเนิดใด ก็จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้เสียงจากแหล่งกำเนิดอื่นที่ไม่ต้องการมารบกวน เพราะหากปล่อยให้เสียงจากแหล่งกำเนิดอื่นมารบกวนมากเกินไปแล้ว นั่นก็หมายความว่าค่าระดับเสียงที่ได้นั้น ไม่ใช่ค่าความดังที่แท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเลือกใช้วัสดุอะคูสติก และจัดงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเสียงได้อย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น ในการวัดระดับเสียงจึงจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและความเชี่ยวชาญที่จะต้องควบคุมเสียงจากแหล่งอื่นๆ หรือ เสียง Background ให้เหมาะสม หรือลบออกไปให้หมด เพื่อให้ได้ค่าเสียงจริงสำหรับนำไปใช้ออกแบบการแก้ไขและควบคุมเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


ฉนวนกันเสียง: วัดระดับเสียงใช่ว่าใครก็วัดได้ 6 ปัจจัยทำลายที่ทำให้การวัดไม่ได้ผล อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/